|

ผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูก”คอ”

ไม่ว่าการ“ผ่าตัด”ชนิดไหน แบบไหน เชื่อว่าสร้างความกังวลใจให้กับผู้ป่วยไม่มากก็น้อย แต่เชื่อเถอะครับว่าศัลยแพทย์ทุกท่านได้ตรวจและวิเคราะห์ความผิดปกติของร่างกายของผู้ป่วย และข้อบ่งชี้ในการรักษาด้วยการ“ผ่าตัด”อย่างถี่ถ้วนโดยประสบการณ์และความชำนาญการณ์ของแต่ล่าน

คงจะดีกว่าถ้าเปลี่ยนช่วงเวลาคิดและกังวล มาเป็นการเตรียมตัวหาข้อมูลการรักษา ข้อดีข้อเสีย หรือ การปฎิบัติตัวหลังผ่าตัด อย่างเช่นที่ตอนนี้เรากำลังจะทำความรู้จัก “การผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอ”

วัตถุประสงค์หลักๆที่จำเป็นผ่าตัดหมองรองกระดูกสันหลัง”คอ”

1.รักษาระดับความสูงของหมอนรองกระดูกสันหลังให้กลับมาปกติเพื่อรักษาการเคลื่อนไหวของกระดูกคอ
2.ลดโอกาสเสี่ยงที่จำทำให้ข้อของกระดูกสันหลังข้างเคียงเสื่อมเร็วขึ้น
3.แก้ไขอาการเจ็บปวด

วัสดุที่สำหรับใส่แทนที่หมอนรองกระดูก(เดิม)
1.กระดูกโดยส่วนใหญ่ใช้กระดูกเชิงกรานบริเวณ
2.กระดูกเทียม
3.หมอนรองกระดูกเทียม

ขั้นตอนการผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกสันหลัง“คอ”

การผ่าตัดจะเริ่มเปิดแผลด้านหน้าอยู่บริเวณคอด้านข้างด้านใดด้านหนึ่ง ขนาดของแผลประมาณ 2-3 ซม.โดยระขณะที่ทำการผ่าตัดใช้กล้องจุลทัศน์และเครื่องฉายรังสี(Fluroscope)เพื่อการผ่าตัดที่แม่นย้ำรวมถึงตำแหน่งที่เหมาะสม ทั้งในการตัดหมอนรองกระดูกที่เสื่อมสภาพเป็นสาเหตุของการกดทับเส้นประสาทและไขสันหลัง การตัดกระดูกต่างๆที่งอกออกมาผิดปกติ และ การนำหมอนรองกระดูกเทียมใส่เข้าไปเพื่อแก้ไขภาวะผิดปกติต่างๆ
หลังผ่าตัด 1-2วัน ผู้ป่วยสามารถลุกยืนและเดินได้ทันที่หลังการผ่าตัด โดยใช้เวลาพักฟื้นอยู่รพ.ประมาณ3-4วัน

ข้อเสียของการผ่าตัดชนิดนี้:
– มีข้อจำกัดในผู้ป่วยบางราย เช่น ผู้ป่วยสูงอายุบางราย ผู้ที่มีความเสื่อมของข้อต่อด้านหลัง
– วัสดุมีค่อนข้างแพง

รศ.นพ.อัคคพงษ์ นิติสิงห์
อาจารย์ศัลยแพทย์
ระบบประสาท
และกระดูกสันหลัง