| |

ปวดแบบไหน?เรียกหมอนรองกระดูกเสื่อม

หมอนรองกระดูก“เสื่อม” เกิดจากสาเหตุหลักๆคือ
1.เกิดจากใช้งานในชีวิตประจำวัน
2.อายุที่มากขึ้น

ปัจจุบันพบในผู้ป่วยอายุที่น้อยมากขึ้นเนื่องจากการใช้ชีวิตประจำวันและพฤติกรรม เช่น การทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ ยกของหนักประจำตัว

ตำแหน่งของหมอนรองกระดูกเสื่อมที่พบได้บ่อยได้แก่ บริเวณกระดูกคอ และ บริเวณหลังส่วนล่าง
ในระดับชั้นของกระดูกสันหลังที่ C5-6 หรือ L5-S1

ปวดแบบได้บ้าง

บริเวณคอ : ปวดรอบๆต้นคอ ซ้ายหรือขวาได้ทั้งหมด ,ร้าวลงมาที่ไหล่หรือสะบัก จะหนึ่งข้างหรือสองข้างได้ทั้งสอง
บริเวณหลังล่างหรือเอว : ปวดตึง รอบเอว นั่งนาน ยืนนาน เดินนานปวด ,ร้าวลงมาที่ขา หน้าขาได้ทั้งสอง

จำเป็นต้อง “ผ่าตัด” ทุกเคสหรือไม่

คำตอบ คือ “ไม่เสมอไป” ถ้า…ผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาด้วยการทานยา “ตรงโรค” กายบำบัด “ถูกวิธี” ออกกำลังกายบริหาร “ถูกต้อง” สำคัญกว่านั้นคือการปรับพฤติกรรมในการทำงาน หรือ ลดน้ำหนักตัว

และถ้า “ไม่ตอบสนอง”ต่อการรักษาตามที่กล่าวมา

การผ่าตัด คือ “คำตอบ”
โดยการผ่าตัดแบ่งเป็น 2แบบ
1.การผ่าตัดแบบเชื่อมกระดูกสันหลัง
2.การผ่าตักเปลี่ยนหมอนรองกระดูกเทียม

จะทราบได้อย่างไรว่าควรผ่าตัด:
1.ตรวจร่างกายกับแพทย์เฉพาะทางแล้วพบความผิดปกตินั้นๆ
2.ตรวจวินิจัยด้วยเครื่องMRIแล้วพบความผิดปกตินั้นๆ

รศ.นพ.อัคคพงษ์ นิติสิงห์
ศัลยแพทย์เฉพาะทางระบบประสาทและกระดูกสันหลัง

Leave a Reply

Your email address will not be published.