ปวดคอ ไหล่ติด สะบักจม
ไม่จำเป็นต้อง “ผ่าตัด”
อาการดังกล่าวไม่ใช่อาการปวดจาก โรคหมอนรองกระดูกกดเบียดเส้นประสาทแต่อย่างใด แต่อาการนี้เรียกว่า “โรคกล้ามเนื้อคอหดเกร็ง”

โรคกล้ามเนื้อคอหดเกร็ง : เกิดจากความไม่สมดุลระหว่างกล้ามเนื้อและการใช้งาน โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มักพบอาการในกลุ่มการใช้ พฤติกรรมในรูปแบบซ้ำๆ เช่น ท่าทางกางแขน การเขียน การก้มคอบ่อยๆ โดยไม่มีการเปลี่ยนอิริยาบทใดๆ ไม่มีการยืดเยียดร่างกายๆจึงทำให้กล้ามเนื้อมีการหดเกร็ง จนกระทั่งมีอาการปวดร้าวไปที่คอ แขน ไหล่ หลัง หรือบ่าทั้งสองข้าง
อาการที่พบในคนไข้กลุ่นนี้คือ : ปวดเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ และ หลัง บางรายอาจพบ”ก้อนแข็งๆ”ที่บริเวณหลัง ร่วมถึงพบอาการปวดร้าวไปยังบริเวณใกล้เคียงคอ เช่น บ่า ไหล่ หรือ หลัง แต่อาการเหล่านี้ไม่คล้ายคลึงกับกลุ่มผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทอย่างแน่ชัด

การดูแลและปฎิบัติตัวเบื้องต้น:
1.เมื่อมีอาการปวดดังกล่าว
– ทานยาแก้ปวดคลายกล้ามเนื้อเพื่อบรรเทาอาการปวด
– ประคบร้อน ประคบเย็นบริเวณที่ปวดโดยหลีกเลี่ยง การนวด กด เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อ กระดูก มีการอักเสบเพิ่มเติม
2.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และ พักร่างกาย เช่นการปรับตำแหน่งนั่งทำงานให้เหมาะสมกับสรีระร่างกาย หรือ หยุดพักระหว่างวันเพื่อให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย


กรณีปฎิบัติตัวเบื้องต้นตามด้านบนแล้วอาการไม่ดีขึ้น:
1.เข้าพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม ด้วยการตรวจร่าง X-ray หรือ MRI เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง
2.กรณีตรวจพบ “โรคกล้ามเนื้อหดเกร็ง” การรักษาด้วยยาทั้งยาทาน หรือฉีด และการกายภาพ ที่ถูกต้องจะทำให้คนอาการดีขึ้น
อาการแบบไหนที่อันตรายมากกว่าโรคกล้ามเนื้อคอหดเกร็ง
แต่มีอาการคล้ายคลึงกัน…
-อาการชา เสียวแปร็บ ที่แขน มือ ร่วมกับอาการปวด
-อาการอ่อนแรง ที่แขน มือ ร่วมกับอาการปวด
-การใช้งานมือ หรือ แขนผิดปกติ
-อาการปวดหัว หรือ ปวดตาร่วมกับอาการปวดคอ
-การขยับคอ หรือ หันคอไม่ปกติ หรือมีการทรงตัวผิดปกติ
-การขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะผิดปกติเช่น ไม่สามารถควบคุมได้
โรคกล้ามเนื้อคอหดเกร็ง ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด แต่การรักษาที่ถูกวิธีและปรับพฤติกรรมเพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อคอเป็นสิ่งสำคัญ…

ศัลยแพทย์เฉพาะทางระบบประสาทและกระดูกสันหลัง